ปัญญาประดิษฐ์ทางสุขภาพ

ในปี 2015 เกิดการวินิจฉัยและการรักษาที่ผิดพลาดส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตในประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 10 % จากการที่ประวัติทางการแพทย์ที่ไม่สมบูรณ์ แต่การใช้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยคาดหวังว่าข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์นี้อาจจะช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำและรวดเร็วขึ้น โดยจุดเริ่มที่สำคัญคือการใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยในการรักษามะเร็งเต้านม ซึ่งช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำขึ้นกว่านักพยาธิวิทยาถึง 11 คน

การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในวงการแพทย์และสุขภาพ อาจจะถูกนำมาใช้ช่วยในการวินิจฉัยและการรักษา โดย Harvard Medical School กล่าวว่าในหลายโรงพยาบาล รวมถึงผู้ให้บริการด้านสาธารณะสุขใช้

  • Buoy’s AI” ช่วยในการวินิจฉัยคนไข้และรักษาเพื่อให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และยังพบอีกว่าการใช้ AI ที่ Beth Israel Deaconess Medical Center ในการช่วยวินิจฉัยโรคจากเลือดที่เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตระยะแรก ๆ โดยเป็นการตรวจหาแบคทีเรียในเลือดที่เป็นอันตราย และช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำกว่า 95%
  • การใช้ในการช่วยงานทางด้านพยาธิวิทยา โดยใช้ “PathAI” ช่วยลดความผิดพลาดในการวินิจฉัยกลุ่มโรคร้าย เช่น มะเร็ง รวมถึงช่วยในการรักษา โดยทำงานร่วมกับ Bristol Myers Squibb ในการพัฒนายาในการรักษาโรคมะเร็ง และยังช่วยงานของมูลนิธิ Bill & Melinda Gates
  • ใช้ในการวินิจฉัยทางรังสีวิทยา ได้แก่ Zebra Medical Vision ที่ใช้ AI ในการวินิจฉัยภาพจากรังสี และใช้ Enlitic ซึ่งเป็น AI จาก MIT และกำลังจะพัฒนาไปสู่การตรวจเลือด การตรวจคลื่นหัวใจ และประวัติ รวมถึงการใช้ genomics
  • การใช้ในทางจิตเวช และจิตวิทยาในลักษณะของการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ หรือ Social Media ในลักษณะของ Chatbot เพื่อช่วยลดอาการของความวิตกกังวล และความเครียด นอกจากนี้ยังมีการใช้ Facebook ในการช่วยตรวจหาผู้ที่มีความคิดที่จะทำร้ายตนเองตั้งแต่ปี 2017

การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยในการพัฒนายาใหม่ ๆ ซึ่งเดิมการพัฒนายาแต่ละชนิดใช้เงินไม่น้อยกว่า 2.6 พันล้านเหรียญ ซึ่งรวมไปถึงการทดลองในคลินิก และมีีเพียง 10% ของยาเหล่าน้ีเท่านั้นที่ถูกนำมาใช้ในตลาดได้จริง ซึ่งการนำ AI มาใช้น้ีจะช่วยให้การพัฒนายาเป็นไปได้รวดเร็วขึ้นอย่างแม่นยำ โดยแต่เดิมเคยใช้ Adam ซึ่งเป็น AI ค้นหาข้อมูลกว่าพันล้านข้อมูลเพื่อค้นหา 19 ยีนที่มีอยู่ในยีสต์และนำมาพัฒนาเป็นยา นอกจากนี้ยังมี Eve ที่ช่วยในการค้นพบ Triclosanซึ่งเป็นองค์ประกอบในยาสีฟันที่สามารถนำมารักษามาเลเรียได้ นอกจากนี้ยังมีหลายบริษัทที่ใช้ AI ในการพัฒนาด้านยา เช่น BioXcel Theurapeutics นำ AI มาใช้ในการพัฒนายาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภูมิคุ้มกันรักษาในมะเร็งและระบบประสาท และยังนำมาช่วยในการเลือกคนไข้ที่เหมาะสมกับเทคนิคการรักษาที่มีอยู่ การใช้ BERG ช่วยในการรักษาโรคที่พบน้อยมาก ๆ ด้วยความสัมพันธ์กับการคัดเลือกยาที่ทันสมัย เช่น การรักษา Parkinson’s รวมถึงการนำเทคนิค AI ร่วมกับควันตัมฟิสิกส์ ร่วมกับ Google, Tencent, Sequoia Capital ชื่อ XtalPi’s ID4 platform มาใช้ในการพยากรณ์ผลทางเคมี และเภสัชวิทยาในการออกแบบยา และพัฒนายาในรูปผลึก มีการใช้เพื่อพยากรณ์เกี่ยวกับการใช้ยาและประเมินยา

ในทางคลินิก ด้วย AI ของ Atomwise ได้เข้ามามีส่วนช่วยในการประเมินส่วนประกอบทางพันธุกรรมกว่า 20 ล้านในแต่ละวัน ซึ่งทำให้การประเมินนี้เร็วขึ้นกว่าเดิมกว่า 100 เท่าเมื่อเทียบกับวิธีเดิมที่บริษัทยาเคยใช้ และยังมีการใช้ Deep Genomic’s AI มาช่วยในการพัฒนายาเพื่อใช้ในโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ทั้งในส่วนของการเสื่อมสภาพ และในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อ ซึ่งช่วยให้ประสบความสำเร็จมากขึ้นในการทดลอง ในทางคลินิกทั้งในด้านการลดระยะเวลาในการทดลอง และประหยัดงบประมาณ เพื่อนำไปสู่การตลาดได้ดียิ่งขึ้น

การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการช่วยอำนวยความสะดวกในระบบการบริการสาธารณสุข เพื่อให้บริการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • ด้วยการใช้ Olive’s AI ในระบบอัตโนมัติที่เป็นเรื่องของงานธุรการที่ซ้ำ ๆ เพื่อให้บุคลากรใช้เวลาในการช่วยให้การบริการเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น
  • มีการนำ Qventus ซึ่งเป็น AI-based software ในระบบห้องฉุกเฉิน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ลดเวลาคอยที่โรงพยาบาล และให้รถฉุกเฉินเข้าถึงผู้ป่วยได้รวดเร็วขึ้น ซึ่ง Software นี้ได้รับรางวัล 100 Most Innovative AI Startups for 2019
  • การใช้ Babylon ในการบริการด้านการนัดหมายผ่านการสื่อสารผ่านจักรกล (Chatbot) เพื่อซักถามอาการและการนัดพบบุคลากรทางการแพทย์ และยังมีการใช้ในโรงพยาบาล John Hopkins เพื่อให้ AI สามารถช่วยให้ระบบเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในได้อย่างดีขึ้นกว่า 60% และช่วยในการให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้เร็วขึ้น รวมถึงมีประสบการณ์ที่ดีในโรงพยาบาล
  • มีการใช้ AI ในลักษณะของการรักษาทางไกล (Telehealth) เพื่อช่วยในการติดตามผู้ป่วยโดยใช้ AI และการใช้อุปกรณ์ติดตัว Wearable Device ที่ช่วยติดตามอาการของผู้ป่วย และเมื่อพบอาการผิดปกติแพทย์จะได้ติดตามช่วยเหลือได้ทัน

การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการบริหารจัดการข้อมูลสำคัญ ซึ่งเป็นเรื่องของข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ (Big data) และมีความสำคัญอาจมีการสูญหาย และสูญเสียเงินกว่า 100,000 ล้านเหรียญต่อปี การเชื่อมต่อข้อมูลเหล่าน้ีทำให้การพัฒนายาใหม่ได้ดีขึ้นทั้งในส่วนของการป้องกันโรคและช่วยในการวินิจฉัย การใช้ Tempus ในการเก็บข้อมูลทางคลินิก เพ่ือนำมาใช้ในการรักษาพยาบาลแบบเฉพาะตัว

อย่างไรก็ตามการใช้ AI ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย แต่หลายส่วนก็ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งอาจจะมีความผิดพลาดได้บ้าง รวมถึงการใช้เครื่องมือสื่อสารนี้จะต้องมีการระวังการขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วย ตลอดจนถึงการใช้ในทางที่ผิด ในลักษณะของข่าวปลอมที่สร้างความสับสน รวมถึงด้านจริยธรรมของผู้ให้บริการ

ข้อมูลจาก : นพ.ธิติวัฒน์ ประชาธำรงพิวัฒน์

(https://minsenconcept.com/ปัญญาประดิษฐ์ทางสุขภาพ/)

Cover designed by Freepik

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *