วิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19

ข้อมูลและความเป็นมา

โควิด-19 มีหลากหลายสายพันธุ์ เคยพบเป็นต้นเหตุของไข้หวัดที่ไม่รุนแรงในสัตว์ เช่น สุนัข แมว หนู หมู นก ซึ่งจะก่อให้เกิดความผิดปกติของทางเดินหายใจ ระบบประสาท ตับ ลำไส้ของสัตว์เหล่านี้

สำหรับเชื้อที่พบในคน เป็นเชื้อที่กลายพันธุ์มาใหม่ ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าเป็นอาวุธชีวภาพ โดยโรคนี้เริ่มต้นที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน โรคนี้เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลันรุนแรง เกิดจากไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการปอดอักเสบ  คล้ายกับโรค SARS แต่ความรุนแรงน้อยกว่า ซึ่งสามารถทำให้ผู้ติดเชื้อบางรายเสียชีวิต โรคนี้เริ่มจากติดต่อสู่คนผ่านสัตว์ เพราะหลายคนทำงานเกี่ยวข้องกับตลาดขายส่งอาหารทะเลที่เมืองอู่ฮั่น ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสนี้อยู่ในช่วง 1-14 วันก่อนจะมีอาการแสดงตามมา โดย Prof. Wendy Barclay จาก Imperial College ได้ให้ข้อมูลว่าการติดเชื้อในปอดจะแพร่กระจายโดยไม่มีอาการ เพราะเชื้อแพร่ในอากาศ และผู้คนหายใจก็รับเชื้อนี้เข้าไปด้วยได้

ข้อมูลจากศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ

  • อายุผู้ป่วยที่พบบ่อยประมาณ 90% คือช่วงอายุ 30-79 ปี
  • ส่วนมากอาการน้อย ไม่มีปอดอักเสบ หายใจไม่เกิน 30 ครั้งต่อนาที มีปอดบวมเพียง 13.8% อาการวิกฤติ 4.7%
  • อัตราการเสียชีวิตในเด็กน้อยมาก อายุต่ำกว่า 10 ปีไม่มีเลย
  • อายุ 10-40 ปี เสียชีวิต 0.2% อายุ 50-60ปี เสียชีวิต 13% อายุ 60-69 ปี เสียชีวิต 3.6% อายุ 70-79 ปี เสียชีวิต8% อายุมากกว่า 80 ปี เสียชีวิต 14.8 %
  • อัตราส่วนการติดเชื้อของเพศชายต่อหญิงใกล้เคียงกัน คือ 51.4:48.6 แต่ชายเสียชีวิต 2.8 % ในขณะที่หญิงเสียชีวิต 1.7 %
  • ผู้เสียชีวิตไม่มีโรคประจำตัวเลยมี 32.8% เป็นโรคความดันโลหิตสูง 39.7% โรคเบาหวาน 19.7% โรคหัวใจ 22.7% โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง 7.9% โรคมะเร็ง 1.5 %
  • โดยมีผู้เสียชีวิตที่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ 3.8%

สถานการณ์ที่ผ่านมา

28 มกราคม 2020 สถานทูตอังกฤษเตือนการเดินทางมาจีน การควบคุมการแพร่ระบาด และป้องกันตนเอง

  • หลีกเลี่ยงการสัญจรในที่ที่มีคนจำนวนมาก
  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
  • หากมีคนในบ้านเจ็บป่วยให้แยกห้องพัก และพาไปพบแพทย์ทันที
  • สวมเครื่องป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัย
  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่

1 กุมพาพันธ์ 2020 Google ร่วมมือกับ WHO เปิดตัว SOS Alert แชร์ link ค้นหา corona virus ที่ Facebook, Twitter

การรักษา

2 กุมพาพันธ์ 2020 ทีมแพทย์ราชวิธี โดยมีนพ.เกรียงศักดิ์ อติพรวณิช และรศ.นพ. สืบสาย คงแสงดาว ค้นพบวิธีรักษาที่ได้ผล ฟื้นตัวคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว

  • ผู้ป่วยชาวจีนอายุ 70 ปี จากโรงพยาบาลหัวหิน มีความดันโลหิตสูง หัวใจโต คนไข้มีอาการหนักมาก ปอดอักเสบน้ำท่วมปอดต้องใส่ท่อช่วยหายใจภายใน 12 ชั่วโมง คนไข้อ่อนเพลีย ลุกไม่ได้ เมื่อให้ยาสามารถกลับมานั่งได้ และไข้ลดลง ผลตรวจเลือดลบภายใน 48 ชั่วโมง
  • ในไทยรักษาโดยใช้ยาต้าน HIV (โลพินาเวียร์ และ ลิโทนาเวียร์) 2 เม็ด เช้า เย็น และยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ (โอเซลทามิเวียร์) ขนาด 75 มิลลิกรัม วันละ 2 เม็ด เช้า เย็น

สถานการณ์การติดเชื้อ

  • ประเทศที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ญี่ป่นุ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ จีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน อิตาลี และอิหร่าน
  • ประเทศจีน มีประชากรหนาแน่นค่อนข้างมาก การสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์จึงมีโอกาสติดเชื้อไวรัสได้ง่ายกว่าที่อื่น การระบาดมักจะเกิดในฤดูหนาวในพื้นที่มีอากาศหนาวเย็น
  • การระบาดในเกาหลีใต้ โดยมากมาจากสมาชิกโบสถ์พระเยซูชินชอนจี ในเมืองแทกู
  • อิหร่าน ระบาดจากผู้แสวงบุญ มุสลิมนิกายชีอะห์ ที่เดินทางจากอิหร่านไปประเทศเพื่อนบ้าน
  • การระบาดในบราซิล 25 กุมพาพันธ์ 2020 จากชายวัย 61ปีที่เดินทางกลับจากอิตาลีตอนเหนือ และมาในเทศกาลคาร์นิวัล
  • 8 จังหวัดในไทยที่มีความเสี่ยง คือ กรุงเทพ เชียงใหม่ เชียงราย สมุทรปราการ กระบี่ ภูเก็ต ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์
  • กระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมความพร้อมการระบาดระยะที่ 3 โดยมีโรงพยาบาล 4 แห่ง คือ ราชวิถี เด็ก บำราศนราดรู นพรัตน์ราชธานี

การป้องกัน

  • การลวกช้อนส้อมในน้ำร้อนตามศูนย์อาหารอุณหภูมิประมาณ 50 องศา ไม่พอที่จะฆ่าเชื้อ และเมื่อไม่มีการเปลี่ยนน้ำจะเพิ่มปริมาณเชื้อโรค หากจะให้ปราศจากเชื้อโรคต้องใช้ที่ 80-90 องศาเซลเซียส แช่นาน 4 นาที
  • ถ้ามีคนติดเชื้อ 20% จะ slow rate of transmission 60 % จะเกิด herd immunity
  • ถ้าคุมไม่ได้อาจใช้เวลา 1-2 ปี คล้ายไข้หวัดใหญ่ปี 2009 โดยเป็นเคสมาก เคสหนัก แต่นาน หรือ เคสมาก เคสหนัก ตายมาก แต่จบเร็ว

ข้อมูลจาก : นพ.ธิติวัฒน์ ประชาธำรงพิวัฒน์

(https://minsenconcept.com/covid-19-corona-virus-2019/)

 

Cover designed by Freepik

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *