ขณะที่ประเทศไทยกำลังอยู่กับเรื่องกฎหมายในการปลูกกัญชง และกัญชา แต่การพัฒนาและการศึกษาในโลกได้มีการพัฒนาก้าวข้ามไปไกลในด้านต่าง ๆ ทั้งการพัฒนาสายพันธุ์ และการหาสารประกอบภายในของพืชตระกูลกัญชา ซึ่งมีอย่างมากมาย นอกเหนือจาก CBD (Cannabidiol) ซึ่งไม่มีฤทธิ์ทางระบบประสาท แต่มีผลทางเภสัชวิทยาและการแพทย์สูง และ THC (Tetrahydrocannabinol) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการมึนเมา อารมณ์ดี รวมถึงการพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Entourage effect ซึ่งเป็นการใช้ทุกส่วนของกัญชา โดยพบว่าให้ผลดีกว่าการใช้สารสกัด แต่การแพทย์สมัยใหม่อาจจะไม่ชอบมากนัก เพราะยังไม่สามารถเข้าใจถึงสารอะไรบ้างที่ออกฤทธิ์ และต้องใช้ปริมาณเท่าใด ทำให้คาดหวังผลของการรักษาในแต่ละคนไข้ค่อนข้างยาก รวมถึงผลข้างเคียง หรือผลเสียจากการรักษาที่อาจจะตามมา โดยเฉพาะเมื่อปลูกในธรรมชาติที่ไม่ทราบสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลต่อสารแต่ละชนิดในแต่ละต้น ตลาดของกัญชาและกัญชงขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในแคนดาและสหรัฐอเมริกา ทำให้มีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 600,000 ล้านบาท ซึ่งกว่า 70 % เป็นการนำไปใช้ในทางการแพทย์ และเภสัชกรรม ซึ่งผู้เล่นหลักในตลาดกัญชา คือประเทศจีนที่ปลูกมากในพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศหรือในเขตยุนนาน ที่เร่งการผลิตสาร CBD ป้อนสู่ตลาด รวมถึงเส้นใยของกัญชง ซึ่งจากเดิมเป็นกลุ่มประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ทำให้กลุ่มเดิมต้องพยายามพัฒนาตนเองให้ก้าวห่างออกไป และพยายามเน้นข้อดีของสินค้าที่ตนเองมีอยู่มากขึ้น จึงเกิดแนวทาง 2 ด้านในการพัฒนา คือ การผลิตสารสำคัญ Cannabinoid จากพืชซึ่งเป็นการหาสายพันธุ์ที่สามารถผลิตสารตั้งต้น […]
Category Archives: Health Knowledge
ยานอนหลับ เป็นยาที่คนทั่วไปมักใช้เรียกกลุ่มยาที่ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น โดยไม่ทราบกลไก หรือประโยชน์ที่แท้จริงของยาเหล่านั้น และหลาย ๆ คนไม่ได้ต้องการรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้ตนเองนอนไม่หลับ หรือแม้แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน ที่ช่วยให้การนอนหลับนั้นง่ายขึ้น และมีคุณภาพ ปัจจุบันการจะใช้ยานอนหลับจะต้องได้รับการแนะนำจากแพทย์ เพราะยานอนหลับทุกประเภทล้วนมีความเสี่ยงในการใช้ จากงานวิจัยของ นพ. Daniel Kripke จากมหาวิทยาลัย California San Diego เน้นย้ำถึงผลกระทบจากยานอนหลับที่มีผลต่อคนไข้แม้ว่าจะเป็นการสั่งยานั้นจากแพทย์โดยตรง โดยเขาพบว่า ผู้ที่ใช้ยานอนหลับจะมีโอกาสเสียชีวิตและเป็นมะเร็งสูงกว่าคนที่ไม่ใช้ยานอนหลับหลายเท่า โดยในศตวรรษที่ 21ผู้ป่วยที่นอนไม่หลับเพิ่มสูงขึ้น และจำนวนใบสั่งยานอนหลับในสหรัฐอเมริกาก็เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เขาเข้ามาศึกษาความเสี่ยงจากการใช้ยานอนหลับ โดยการศึกษาในคนกว่า 10,000 คน พบว่าส่วนใหญ่ใช้ยา Zolpidem มีบ้างที่ใช้ยา Tamazepam เทียบกับคน 20,000 คนที่ไม่ได้ใช้ยานอนหลับ โดยให้เพศสภาพ อายุ เชื้อชาติ และภูมิหลังมีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งรวมถึงดัชนีมวลกาย ประวัติการออกกาลังกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ ในเวลา 2.5 ปี ผู้ที่ใช้ยานอนหลับมีแนวโน้มจะเสียชีวิตสูงกว่าคนที่ไม่ใช้ยาถึง 4.6 เท่า และเพิ่มขึ้นตามความถี่ของการใช้ยา โดยกลุ่มที่ใช้ยามากกว่า 132 เม็ดต่อปีมีโอกาสเสียชีวิตระหว่างการศึกษาสูงกว่าผู้ที่ไม่ใช้ถึง […]
กลุ่มคนที่มีปัญหากับการนอนมักจะพยายามหาแนวทางในการช่วยเหลือให้ตนเองนอนหลับได้ง่าย รวมถึงการนอนหลับได้ดีขึ้น และรู้สึกสดชื่นเมื่อตื่นนอน หลาย ๆ คนพยายามพึ่งพาอาหาร วิตามิน อาหารเสริมต่่ง ๆ ที่ช่วยให้การหลับดีขึ้น เช่น เมลาโตนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพื่อช่วยให้หลับจากอาการ jet lag ด้วยการช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด วิตามิน D มีความสำคัญอย่างยิ่งกับการนอนหลับ การที่ได้รับวิตามิน D ไม่เพียงพอย่อมส่งผลทำให้เกิดอาการนอนหลับยากได้ วิตามินนี้จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารที่จำเป็น วิตามิน B6 ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยการสร้าง Serotonin และ Melatonin Tryptophan เป็นอาหารเสริม ที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างฮอร์โมนเมลาโตนิน อาหารต่าง ๆ ที่ช่วยโดยมากมักเกี่ยวข้องกับ Tryptophan ได้แก่ พืชตระกูลถ่ัว โดยเฉพาะวอลนัท อัลมอนด์ ซึ่งมีมีแมกนีเซียมด้วย ปลาทูน่าเป็นแหล่งวิตามิน B6ที่ช่วยในการสร้าง Serotonin และ Melatonin การทานอาหารเค็มจัด โดยเฉพาะการบริโภคเกลือมีผลต่อการนอนหลับ สมาคมแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะแห่งยุโรปที่ London โดยนายแพทย์มัตสึโอะ โมโมฮิโระ พบว่าการลดการบริโภคเกลือ ลดการตื่นเข้าห้องน้ำกลางคืนลงจาก […]
การนอนให้เพียงพอเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของชีวิต การนอนหลับที่มีคุณภาพไม่ได้ขึ้นกับปริมาณหรือจำนวนชั่วโมง แต่ยังขึ้นกับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเข้านอนอีกด้วย สำหรับกลุ่มคนที่เป็นพวกตื่นเช้า ควรที่จะเข้านอนระหว่างเวลา 22.00-23.00 น. เนื่องจากระบบนาฬิกาของร่างกาย จะสั่งให้สมองเริ่มหลั่งฮอร์โมน Melatonin ในช่วงเวลา 21.00-22.00 น. และไปสูงสุดในช่วงเวลา 2.00 น. โดยฮอร์โมนนี้จะเกี่ยวข้องกับวงจรการนอนหลับที่เรียกว่า Circadian Rhythm อยู่ภายใต้การควบคุมของสมองส่วน Hypothalamus ที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน Melatonin ที่เกิดขึ้นเป็นวงจรประมาณรอบละ 24 ชั่วโมง 15 นาที โดยขณะที่นอนหลับร่างกายจะลดการเคลื่อนไหวและการเผาผลาญพลังงาน แต่ระบบการทำงานของระบบประสาท และระบบฮอร์โมนอาจจะเพิ่มขึ้น แต่มีคนอีกมากมายที่มีปัญหาในการนอน หรือนอนหลับไม่ดี และได้มีการศึกษาเกี่ยวกับการนอนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเรื่อง Chronotype เป็นการบอกว่าเราควรนอนแบบใดให้เหมาะสมกับตัวเราเอง เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกัน และถูกกำหนดโดยพันธุกรรม โดยแบ่งง่าย ๆ เป็น 3-4 แบบ คนตื่นเช้า 40 % หรือ 10 % คนกลางคืน 30 % หรือ 10 […]
ฮอร์โมน เป็นสารที่ผลิตในร่างกายของเรา และส่งผ่านไปในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ฮอร์โมนมีส่วนช่วยในการนอน บางชนิดอาจจะมีผลทำให้นอนไม่ค่อยหลับ เช่น ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความตื่นเต้น ความเครียด และยังมีฮอร์โมนที่สัมพันธ์กับการนอน ซึ่งอาจมีส่วนหรือเป็นผลกระทบจากการนอน จึงขอนำมาเล่าให้ฟังพอสังเขป Melatonin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาได้เอง มีบทบาทในการควบคุมการนอนหลับ ช่วยให้คนเรามีการนอนหลับที่ดีขึ้น เมื่อฮอร์โมนนี้ลดลงก็อาจจะนำปัญหาในการนอนหลับมาให้ได้ เมลาโตนินผลิตมาจากต่อมไพเนียล ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่ออยู่กลางสมองมีขนาดเท่าเมล็ดถั่ว ต่อมนี้จะไม่ทำงานเวลามีแสงสว่าง และทำให้ฮอร์โมนอยู่ในกระแสเลือดปริมาณ 10-60 พิโคกรัมต่อมิลลิลิตร ติดต่อกันประมาณ 12 ชั่วโมง ก่อนที่ระดับฮอร์โมนนี้จะลดลงในช่วงเช้า เมลาโตนินนี้จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดอุณหภูมิในร่างกายลง ทำให้เรานอนหลับได้ดีในเวลากลางคืน และเมื่อมีฮอร์โมนสูง ในร่างกายเราจะแปลผลว่าเป็นเวลาผ่อนคลาย ควรพักผ่อนได้แล้ว เมลาโตนินนี้มีส่วนช่วยในการยาวขึ้นของขนสัตว์ในช่วงฤดูหนาว และส่งสัญญาณเข้าฤดูผสมพันธุ์ หรือนำสู่การจำศีล แต่ในมนุษย์ฮอร์โมนนี้ไม่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ แต่เกี่ยวข้องกับการนอน และได้มีการนำเมลาโตนินมาใช้ในการบรรเทาอาการ เช่น Jet lack ที่เกิดจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับเขตเวลาเมื่อต้องเดินทางโดยเครื่องบิน ก่อให้เกิดอาการนอนหลับไม่สนิท อ่อนเพลียระหว่างวัน อาหารไม่ย่อย รู้สึกไม่สบายตัว ในกลุ่มพวกที่นอนหลับผิดเวลา (Delayed Sleep Phase Syndrome) โดยมากจะไม่สามารถนอนหลับได้ก่อน 2.00 […]
สัตว์โลกล้วนจำเป็นต้องนอนหลับพักผ่อน แม้แต่สัตว์ชั้นต่ำที่มีโครงสร้างร่างกายแบบพื้นฐาน เช่น ตัวไฮดรา และแมงกะพรุนที่ปราศจากสมอง ก็ยังมีภาวะคล้ายงีบหลับ จากการศึกษาสัตว์ไร้สมองที่โครงสร้างแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ โดย Taichi Q. Itoh นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Kyushu ของญี่ปุ่น ที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances พบว่าไฮดรานั้นมีวงจรการหลับ และตื่นรอบละ 4 ชั่วโมงสลับกันไปและเมื่อนอนหลับไม่เพียงพอจากการถูกรบกวน มันจะนอนในรอบต่อไปนานขึ้น หรือมีเซลล์ที่การเจริญเติบโตน้อยลง ในสังคมยุคใหม่ การนอนถูกละเลย และมองว่าการนอนน้อยเป็นสิ่งที่ดี สร้างเสริมงานได้ดีทำให้การนอนหลับเสมือนเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย แต่ความจริงแล้วการนอนเป็นความจำเป็นของร่างกาย เพราะเราใช้เวลาในการนอนประมาณ 1/3 ของชีวิต ไม่ใช่แค่มนุษย์แต่สัตว์ต่าง ๆ ก็ต้องการการนอนพัก แต่การนอนของสัตว์แต่ละชนิดไม่เหมือนกันทั้งวิธีและเวลาการนอน ดั่งที่กล่าวแล้วในไฮดรา แม้แต่พืชเองก็มีช่วงเวลาแห่งการพักการทำงาน หรือ สังเคราะห์แสง แต่การใช้ชีวิตแบบเร่งรีบ และยุ่งอยู่กับเรื่องต่าง ๆ ในสังคมยุคใหม่นี้ ทำให้เรานอนไม่พอ และก่อปัญหากับสุขภาพค่อนข้างบ่อย เกิดอะไรขึ้นถ้าเราไม่ได้นอนหลับ ในปี 1965 มีนักเรียนมัธยมปลาย Randy Gardner อายุ 17 ปี ตื่นอยู่ตลอด […]
คนเมืองที่ทำงานในสำนักงานมักจะมีภาวะขาดของวิตามินดีกันมาก รวมถึงพฤติกรรมที่ทาครีมกันแดดเลยทำให้ผิวไม่ได้รับการกระตุ้นจากแสงแดดในการสร้างวิตามินดี ด้วยความรู้เดิม ๆ ที่เรารู้เกี่ยวกับวิตามินดี คือ การป้องกันกระดูกกร่อน จากการที่วิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส แต่ปัจจุบันงานวิจัยเกี่ยวกับสุขภาพมากมายชี้ให้เห็นชัดว่า “วิตามินดี” มีประโยชน์มากกว่าที่เราทราบ เรามาทราบประโยชน์ของ “วิตามินดี” เพิ่มเติม ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ซึ่งช่วยรักษากระดูกให้แข็งแรง และช่วยในการเคลื่อนไหวของกระแสประสาท จึงเป็นสิ่งจำเป็นของกล้ามเนื้อและการสื่อระหว่างสมองกับร่างกาย ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันช่วยต่อสู้แบคทีเรียและไวรัส ระดับวิตามินดีที่ต่ำในเลือดยังสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าอีกด้วย การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการที่ช่วยไม่ให้เนื้อเยื่อบริเวณหัวใจเกิดรอยแผลเป็น ป้องกันการอุดตันในระบบหลอดเลือดหัวใจ โดยมีการศึกษาในหนูทดลองว่าเนื้อเยื่อบริเวณหัวใจที่เป็นรอยแผลเป็นจะทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ยากลำบาก และทำให้เกิดอาการหัวใจล้มเหลวขึ้นในที่สุด การรับประทานวิตามินดีก็เป็นการช่วยป้องกันโรคหัวใจล้มเหลวได้ในราคาที่ไม่แพง การป้องกันโรคมะเร็ง วิตามินดียังช่วยป้องกันมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ได้ ผู้ที่มีวิตามินดีต่ำกว่ามาตรฐานจะมีความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้น 31% แต่ถ้ามีระดับวิตามินดีสูงจะมีความสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ลดลง 22% และในมะเร็งเต้านมยิ่งมีวิตามินดีมากยิ่งลดความเสี่ยงได้ วิตามินดียังสัมพันธ์กับโรคอ้วน นักวิจัยรายงานว่า ไขมันส่วนเกินบริเวณหน้าท้องนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับวิตามินดีในระดับต่ำ แต่ยังต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทราบว่ากลไกและความสัมพันธ์นี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร โรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ นักวิจัยพบว่าการขาดวิตามินดีนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ แต่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับรังสีอัลตร้าไวโอเล็ตในแสงแดดกับการป้องกันโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคพาร์กินสัน และโรคอัลไซเมอร์ แต่ขึ้นกับการผลิตวิตามินดีในร่างกาย “วิตามินดี” เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน และมักถูกเก็บไว้ในชั้นเนื้อเยื่อไขมัน ร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีได้ด้วยตนเองจากการสัมผัสแสงแดด อาหารที่มีวิตามินดีสูง ได้แก่ ไข่แดง ปลาทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน […]
หลังจาก COVID เกิดขึ้นมา เราจะเผชิญกับความไม่สบายใจค่อนข้างบ่อย โดยเริ่มต้นจะมีความกังวลทางด้านการสาธารณสุข และช่วงหลังนี้จะเป็นความไม่สบายใจเกี่ยวกับทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองมากขึ้น เรากำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตค่อนข้างเยอะ COVID นี้เองที่ทำให้โลกและเราเริ่มเห็นว่าและอะไรเป็นสิ่งที่สำคัญ และไม่สำคัญในชีวิต การตั้งคำถามกับชีวิต โดยมาจาก The School of Life.com ในเรื่อง Philosophical Meditation ด้วยการเอากระดาษมาเขียน 3 คำถาม โดยอาจจะเขียนวันละครั้งก็ได้ หรืออย่างน้อยก็อาทิตย์ละครั้ง ใช้เวลาประมาณ 20 นาที โดยใช้เวลากับคำถาม 3 ข้อ เพื่อหาความไม่สบายใจของเรา “เราไม่สบายใจกับเรื่องอะไร” โดยมากเป็นเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ โดยตั้งคำถามเพิ่มเติม เช่น ส่วนไหนของชีวิตเราที่กำลังตกอยู่ในอันตราย (เงินไม่พอจ่ายทำไงดี สุขภาพอะไรที่มีปัญหา) แล้วเรากลัวว่าอะไรจะเกิดขึ้น และถ้าสิ่งที่กลัวเกิดขึ้นแล้วจะแย่ขนาดไหน ถ้าเป็นคนที่เราชื่นชอบเคยเจอเหตุการณ์นี้เขาจะทำอย่างไร เรื่องทำนองนี้เคยเกิดไหมกับเรา และเราเคยแก้ปัญหาอย่างไร ความกลัวนี้สอนอะไรเราบ้าง “เราวิตกกังวลกับเรื่องอะไร” มักเป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และให้ตั้งคำถามเพิ่มเติม แต่ความวิตกกังวลนี้มักจะไม่ค่อยชัดเจนเท่าใดนัก โดยมากเรามักจะกังวลเรื่องเกี่ยวกับคนรอบข้าง ที่เราต้องรับผิดชอบ เรื่องเงินทอง เรื่องสุขภาพ กลัวการสูญเสีย ฯลฯ จึงควรทำให้ชัดเจนขึ้น […]
VOCs คืออะไร หลายคนในบ้านเราอาจจะไม่ค่อยได้รู้จักนัก ผู้เขียนได้มีโอกาสรู้จักจากการไปสัมมนาเสวนาประสาหมอ โฮมรูมโฮมใจ ร่วมกับ อสมท. หรือคลื่น 96.5 โดยอาจารย์ไพทยา บัญชากิติคุณ ซึ่งได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องการจัดการในบ้านอย่างไรให้ใช้ชีวิตในบ้านได้อย่างง่ายขึ้น และลงตัว โดยกล่าวถึง 5 ส. คือ แสง เสียง สภาวะ สวน และสรีระ และมีการกล่าวถึง VOCs ทำให้ผู้เขียนทราบรายละเอียดเพิ่มเติม จึงขอนำมาเล่าในที่นี้ VOCs มาจากคำว่า Volatile Organic Compounds หรือสารอินทรีย์ระเหย ที่สามารถระเหยกลายเป็นไอได้ในอุณหภูมิห้องและความดันปกติ ทำให้เกิดอากาศเป็นพิษ ซึ่งสารเหล่านี้มาจากกิจกรรมของมนุษย์ ได้แก่ กลุ่มสารที่ไม่มีอะตอมของธาตุคลอรีนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ กลุ่ม Aliphatic Hydrocarbons เช่น น้ำมันเบนซินจากไอเสียรถยนต์, Propane 1,3-Butadiene, Hexane กลุ่ม Alcohols ซึ่งรวมทั้ง Formaldehyde กลุ่มสาร Aromatic Hydrocarbons เช่น Toluene, […]
มะเร็ง คือ สภาวะที่เซลล์ในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่เป็นอันตราย พร้อมจะมีการแพร่กระจาย และลามเข้าไปสู่เนื้อเยื่ออื่น และกระจายตัวไปได้ไกล มะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ มะเร็งที่เกิดที่ส่วนลำไส้ใหญ่จนถึงปลายส่วนที่ติดกับทวารหนัก โดยมากเริ่มจากติ่งเนื้อขนาดเล็ก ๆ ก่อนที่จะขยายขนาด การมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม และเมื่ออายุมากขึ้นติ่งเนื้อนี้อาจจะกลายเป็นมะเร็งได้ อุบัติการณ์ มักพบในคนที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป และพบมากเป็นอันดับ 3 ของมะเร็งทั้งหมดในทั้งชายและหญิง พบมากในอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย ยุโรปเหนือ ในไทยพบมากเป็นอันดับ 3 ของมะเร็งในชาย และอันดับ 5 ของมะเร็งในหญิง พ่อแม่พี่น้องลูกเป็นโรคนี้ 1 คน มีความเสี่ยง 2-3 เท่า อาการที่พบ คือ ท้องผูก ท้องเสีย หรือมีลักษณะของอุจจาระที่เปลี่ยนไป เช่น การถ่ายเป็นเลือด ถ่ายไม่สุด อาจมีปวดท้อง แน่นอึดอัดบริเวณท้องเหมือนมีแก๊สในท้อง ในระยะหลัง ๆ มักจะมีน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย สาเหตุ โดยมากไม่ทราบแน่ชัด […]
- 1
- 2