Category Archives: Covid-19

การตั้งรับระบาดรอบสองของโควิด-19

หลายฝ่ายกังวลต่อการระบาดรอบสองของ COVID-19 ในประเทศไทย และเกรงว่าการระบาดนั้นจะส่งผลรุนแรงคล้ายกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนที่ทำให้คนเสียชีวิตมากกว่ารอบแรก แต่ในยุคปัจจุบันสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตไปมาก การระบาดระลอกใหม่ นักวิชาการหลายรายเชื่อว่ามีแน่ อาทิ นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ฯลฯ และน่าจะเกิดขึ้นภายในเดือนกันยายน ของปี 2020 นี้ แต่ความรุนแรงนั้นจะขึ้นกับ ไวรัสนั้นมีการกลายพันธุ์ ความสามารถในการแพร่กระจาย รวมถึงความรุนแรงของสายพันธุ์ มาตรการในการดูแลการเปิดและปิดเมือง ในการควบคุมและสื่อสารเพื่อให้เกิดการปฏิบัติการจริงได้อย่างไร รวมถึงมาตรการนั้นมีความเข้มงวดมากน้อยเพียงใด ความสามารถในการติดตามผู้สัมผัสโรค และการกักตัวว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ความร่วมมือภาคประชาชนในการป้องกันด้วยการใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่าง และการควบคุมกิจกรรมทางสังคมที่มีความเสี่ยงแบบที่เราทำได้ดี รวมถึงติดตามเฝ้าระวังในกลุ่มพวกเรากันเอง การแบ่งกลุ่มประเทศการเกิดการระบาดระลอกใหม่ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม (ยกเว้นกลุ่มที่มีการระบาดอยู่แล้ว และยังระบาดต่อเนื่อง เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล อินเดีย บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ) ได้แก่ กลุ่มที่ระบาดและควบคุมได้แล้วยังไม่ระบาดใหม่ เช่น จีน ไต้หวัน ไทย รวมทั้งอิตาลี และยุโรป หลายประเทศที่เคยระบาดหนักมาแล้ว อาจจะหมายรวมประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งมีการติดเชื้อใหม่ในประเทศทุกวัน […]

การดูแลนักเรียนหลังปลดล็อกดาวน์

การติดเชื้อในเด็ก จะมีอาการน้อยมาก 40 % มีอาการไข้ และ50 % มีอาการไอ เด็กติดเชื้อเหล่านี้อาจก่อให้เกิดการระบาดเงียบในโรงเรียน เขาไม่มีอาการมากแต่พวกเขาจะนำเชื้อไปสู่ผู้ใหญ่ในบ้าน ซึ่งเป็นปู่ย่าตายาย โดยผู้สูงอายุนั้นจะมีอาการรุนแรง และเสียชีวิตได้ง่าย การป้องกันการติดเชื้อในเด็กเพื่อปกป้องผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ในบ้านเดียวกัน การเตรียมการกับผู้ปกครอง 1. การดูแลด้านสุขอนามัยส่วนตน ในการล้างมือ สอนลูกหลานให้ล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการใช้มือแตะหน้า จมูก ปาก การใช้ช้อนกลาง การไอจาม ที่ต้องปิดปาก และรีบไปล้างมือ ไม่ไปจับสิ่งของอื่น มีกระดาษทิชชูให้พร้อม และทิ้งกระดาษทิชชูที่ใช้แล้วลงถัง 2. การใส่หน้ากากอนามัย และการทิ้งระยะห่างระหว่างกัน 3. การดูแลเมื่อเด็กป่วย มีไข้ ไอ ไม่ควรพาเด็กไปโรงเรียน เด็กที่ป่วยจะต้องแยกห้องพัก ไม่ควรนำมาพบกับผู้สูงอายุ 4. เมื่อไรจะพาไปโรงพยาบาล ถ้าอาการไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส เกินกว่า 2 วัน ตัวเย็น หรือมีอาการหายใจลำบาก ไม่ทานอาหาร ผิวหนังสีคล้ำ หรือเทา การเตรียมบุคลากรครู […]

การให้ความรู้ครูเกี่ยวกับโควิด-19

การป้องกันการเจ็บป่วยที่ดีที่สุด คือไม่ไปสู่กิจกรรมเสี่ยง ไวรัสนี้ติดต่อผ่านคนสู่คน จึงไม่ควรอยู่ใกล้กันเกินกว่า 6 ฟุต หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคนไอ ถ้าเผชิญคนไอให้ใส่หน้ากาก และล้างมือบ่อย ๆ ไม่นำมือมาที่หน้า จมูก และปาก เมื่อไม่สบาย และมีไข้ ไม่ควรมาโรงเรียน ควรพักสังเกตอาการตนเองที่บ้าน การใส่หน้ากากอนามัย ซึ่งเป็นหน้ากากผ้าได้ แต่ต้องถอดเก็บอย่างสะอาดเมื่อทานอาหาร และนำมาใช้ใหม่ได้ ภายในวันเดียวกันควรมีอย่างน้อย 2 ผืน การดูแลสุขอนามัยของครู เมื่อเป็นหวัด มีไข้ เวลาอยู่บ้าน ควรปิดหน้ากากผ้า เพื่อลดการกระจายเชื้อในบ้าน ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อลดการกระจายเชื้อ ไม่จับลูกบิด หรือของใช้ส่วนกลาง ถ้าใช้ให้มีทิชชู่มาคอยกั้น และทิ้งทิชชู่นั้นลงในถังขยะ ล้างวัสดุ และเช็ดพื้นที่ส่วนกลางด้วยน้ำผสมผงซักฟอก หรือไฮเตอร์ 1:100 เสื้อผ้าที่ใช้ ควรซักบ่อย และไม่ปะปนกับคนที่ไม่ป่วยในบ้าน บทบาทผู้บริหาร มีระบบติดตาม ตรวจสอบ ผู้ที่มีไข้ในละวัน มีการประสานงาน แพทย์ พยาบาล ในละแวกใกล้เคียง เพื่อรับเด็ก หรือบุคลากรไปดูแลต่อ มีห้องพักเด็กที่ป่วย […]

การปลดล็อกดาวน์จากโควิด-19

การปลด lockdown จะเป็นการดำเนินการตามจังหวัด ซึ่งดูจากความพร้อมของแต่ละท้องถิ่นพิจารณาจากการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วย ความพร้อมในการรองรับผู้ป่วย และทรัพยากรด้านการแพทย์ และแบ่งออกเป็น 3 ระดับ โดยการเสนอของกระทรวง สาธารณสุข คือ ระดับอ่อน ระดับกลาง และระดับสูง หรืออันตราย ซึ่งแต่ละระดับมีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงได้ แนวทางปลด Lockdown COVID-19 การคงอยู่ของ COVID-19 จะยังคงอยู่กับประเทศไทย คงใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี จนกว่าจะมีวัคซีนใช้ และเราจะต้องปรับตัวให้เข้ากับ New Normal การใส่หน้ากากผ้านอกบ้าน การล้างมือบ่อย ๆ การสนับสนุนให้มีคนทำงานจากบ้าน และเหลื่อมเวลา เพื่อให้บริการสาธารณะไม่หนาแน่น การระวังโรคหวัด และไปพบแพทย์เมื่อมีอาการหนัก หรือในคนกลุ่มเสี่ยง แต่สิ่งที่เกิดต่อมาคือ การคลายมาตรการ Lockdown เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และให้คนในสังคมอยู่ได้อย่างปกติสุข ซึ่งแนวทางนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชน และผู้ประกอบการ ระดับต้น คือ พื้นที่ไม่พบอัตราการติดเชื้อ หรือมีการติดเชื้อในระดับต่ำมาก โดยมีมาตรการ ลดมาตรการภาคบังคับ (จำกัดการเดินทางในประเทศ การปลดเคอร์ฟิว และเปิดสถานที่ประกอบการ […]

ภูมิคุ้มกันสังคมจากโควิด-19

ทุกครั้งที่เกิดวิกฤตการณ์หนัก ๆ ไม่ว่าจะในระดับโลก หรือระดับประเทศ จะเกิดระเบียบใหม่ในสังคมขึ้นเสมอ เช่น ในปี 1989 การสิ้นสุดของสงครามเย็นก็ทำให้เกิดโลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่งเป็นการที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่อกับโลก ได้ทั้งเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ ข่าวสาร ฯลฯ เช่นเดียวกัน วิกฤติ911ในสหรัฐอเมริกาก็ทำให้เกิดการรวมศูนย์อำนาจของโลกมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกาอย่างสมบูรณ์ การเกิด COVID-19 เป็นการเร่งการเปลี่ยนแปลงท่าจะเกิดขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้าให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น เรื่องออนไลน์ ที่คิดว่าต้องมาก็มาทันทีไม่ว่าจะเป็น การซื้อขายสินค้า การเรียน การเล่นเกมส์ การดูรายการ แม้แต่การเทศน์ทางศาสนา และการทำงานที่บ้าน ฯลฯ ซึ่งมีการประมาณว่าคนจะตกงานไม่น้อยกว่า 7 ล้านคนจากทุกภาคธุรกิจ และหากสถานการณ์ยังยาวนานเกิน 3 เดือนอาจจะถึง 10 ล้านคน ปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมที่เป็นปัญหามานานก็ถูกเร่งขึ้น ด้วยการที่คนทำงานทั่วไปในไทยมีเงินสำรองที่จะใช้ ประมาณ 1-3 เดือนเป็นส่วนใหญ่ การเกิดเคอร์ฟิวและปิดร้านค้าส่งผลให้หลายครอบครัวไม่มีรายได้ การกลัวติดเชื้อก็ ส่วนหนึ่ง แต่การกลัวอดตายก็จะตามมาในไม่ช้า การหวังพึ่งพาภาครัฐในช่วงวิกฤติในหลายประเทศก็ประสบปัญหาในการหวังพึ่งพา แต่ด้วยกลไกภาครัฐที่ทำงานค่อนข้างเชื่องช้า ทำให้ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทันท่วงที รูปแบบใหม่ของการดูแลสุขภาพที่มากขึ้น ความสนใจในด้านสุขอนามัย การสวมหน้ากาก […]

วิกฤตการณ์ไวรัสโควิด-19

ข้อมูลและความเป็นมา โควิด-19 มีหลากหลายสายพันธุ์ เคยพบเป็นต้นเหตุของไข้หวัดที่ไม่รุนแรงในสัตว์ เช่น สุนัข แมว หนู หมู นก ซึ่งจะก่อให้เกิดความผิดปกติของทางเดินหายใจ ระบบประสาท ตับ ลำไส้ของสัตว์เหล่านี้ สำหรับเชื้อที่พบในคน เป็นเชื้อที่กลายพันธุ์มาใหม่ ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าเป็นอาวุธชีวภาพ โดยโรคนี้เริ่มต้นที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน โรคนี้เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลันรุนแรง เกิดจากไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการปอดอักเสบ  คล้ายกับโรค SARS แต่ความรุนแรงน้อยกว่า ซึ่งสามารถทำให้ผู้ติดเชื้อบางรายเสียชีวิต โรคนี้เริ่มจากติดต่อสู่คนผ่านสัตว์ เพราะหลายคนทำงานเกี่ยวข้องกับตลาดขายส่งอาหารทะเลที่เมืองอู่ฮั่น ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสนี้อยู่ในช่วง 1-14 วันก่อนจะมีอาการแสดงตามมา โดย Prof. Wendy Barclay จาก Imperial College ได้ให้ข้อมูลว่าการติดเชื้อในปอดจะแพร่กระจายโดยไม่มีอาการ เพราะเชื้อแพร่ในอากาศ และผู้คนหายใจก็รับเชื้อนี้เข้าไปด้วยได้ ข้อมูลจากศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ อายุผู้ป่วยที่พบบ่อยประมาณ 90% คือช่วงอายุ 30-79 ปี ส่วนมากอาการน้อย ไม่มีปอดอักเสบ หายใจไม่เกิน 30 ครั้งต่อนาที มีปอดบวมเพียง 13.8% […]

การตรวจหาเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 เนื่องจากกระแสสังคมส่วนใหญ่ต้องการชุดตรวจวิเคราะห์รวดเร็วหรือที่เรียกกันว่า “rapid test” กันอย่างมาก เพราะไม่สามารถเข้าถึงการตรวจหาเชื้อโดยวิธีการหาสารพันธุกรรมของเชื้อหรือที่เรียกว่าวิธี “RT-PCR” มาดูกันว่าการตรวจหาหาภูมิคุ้มกันในเลือดด้วย “วิธี rapid test”  กับการตรวจหาเชื้อด้วย “วิธี RT-PCR” แตกต่างกันอย่างไร องค์การอนามัยโลกจึงแนะนำว่า สำหรับโรคระบาดใหม่อย่างเช่นเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 นี้ การวินิจฉัยว่าเป็นผู้ติดเชื้อ ควรใช้วิธี RT-PCR เป็นหลัก ดังนั้น ตอนนี้ควรช่วยกันให้คนไทยเข้าถึง RT-PCR ให้มากที่สุด เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อให้ได้เร็ว และป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นในวงกว้าง นอกจากนี้ ชุดตรวจ rapid test ไม่เหมาะสำหรับประชาชนที่จะไปหาซื้อมาทดสอบและอ่านผลเอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรินารถ ชูเมียน หน่วยวิจัยและบริการทางเทคนิคการแพทย์ ศูนย์บริการสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   Cover designed by Freepik