ฟ้าทะลายโจร เป็นอีกหนึ่งสมุนไพรดั้งเดิมในประเทศไทยที่ได้มีการนำมาใช้บรรเทาอาการหวัด เจ็บคอ รวมถึงอาการไข้อีกหลายประเภทที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อจากไวรัสและแบคทีเรีย จึงได้มีคำถามถึงความสามารถเกี่ยวกับการรักษาหรือป้องกัน COVID 19 ได้มากน้อยเพียงใดนอกจากนี้มีการทดลองในประเทศชิลีในการรักษาอาการจากหวัด พบว่าการทานสารสกัดจากใบฟ้าทะลายโจรขนาด 1,200 กรัมต่อวันเป็นเวลา 3-4 วัน สามารถลดอาการรุนแรงของโรคหวัดได้ และหากรับฟ้าทะลายโจรสูงถึง 6 กรัมต่อวัน สามารถลดอาการไข้ และอาการเจ็บคอได้ 80-90 % เดือนกุมภาพันธ์ 2563 กรมแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับการทดลองวิจัยสารสกัดฟ้าทะลายโจร โดยนำกลุ่มตัวอย่างคนไทยสุขภาพดี 10 คน รับประทานสารสกัดฟ้าทะลายโจรและอยู่ในโรงพยาบาล 5วัน จากนั้นเอาเซรุ่มที่สกัดจากกลุ่มตัวอย่างไปใส่เชื้อ COVID 19 พบว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจรนี้ สามารถยับยั้งการการแพร่และการเจริญเติบโตของไวรัสในหลอดทดลองได้ และถือว่าเป็นการศึกษาครั้งแรกที่ทดลองใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจรกับเชื้อไวรัส COVID 19 ผลวิจัยเพิ่มเติมในเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กับคณะแพทย์ศิริราชพยาบาล สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การเภสัชกรรม พบว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจรขนาดสูงมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้ เมื่อรับในปริมาณ 180 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้ป่วยทุกคนจะมีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่ 3 ของการรับสารสกัด และไม่มีอาการข้างเคียง […]
Category Archives: Covid-19
จากการระบาดของ COVID ในประเทศไทยเมื่อวันที่ 23 เมษายนที่มีมากเป็นพิเศษถึง 2,070 ราย ซึ่งมากเป็นประวัติการณ์ของประเทศไทย และในวันที่ 24 เมษายน ยังเพิ่มขึ้นมาเป็น 2,839 ราย โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ซึ่งก็มีการเพิ่มของผู้ติดเชื้อมากขึ้นถึง 740 ราย และ 1582 รายในวันที่ 24 เมษายน ทำให้คนทั่วไป รวมทั้งคนในจังหวัดใหญ่ที่มีการติดอย่างมาก เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สมุทรปราการ ชลบุรี และนนทบุรี มีความวิตกกังวลค่อนข้างมาก จึงขอนำเรื่องความรู้เกี่ยวกับCOVID มาทบทวนให้ผู้อ่านได้รับรู้ เพื่อลดความวิตกกังวลลงได้ เชื้อไวรัสโควิด-19 มีการเปลี่ยนสายพันธุ์ไปแล้วไม่ต่ำกว่า 9 สายพันธุ์ ไวรัสนี้ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต แต่เป็นโมเลกุลของโปรตีนที่ปกคลุมด้วยชั้นของไขมัน ซึ่งเมื่อดูดซึมโดยเซลล์ของร่างกายเราแล้ว โดยเฉพาะในกระพุ้งแก้มจะเปลี่ยนรหัสพันธุกรรม (กลายพันธุ์) แปลงเป็นเซลล์ผู้รุกรานที่พร้อมจะขยายตัวในเซลล์ต่อไปได้ และด้วยการที่มันไม่ใช่สิ่งมีชีวิต จึงไม่สามารถฆ่าได้แต่มันจะสลายไปเอง โดยการสลายจะขึ้นกับอุณหภูมิ ความชื้น และประเภทของวัตถุที่อยู่ ไวรัสชนิดนี้มีความเปราะบางมาก ด้วยมันมีเพียงชั้นไขมันบาง ๆ ปกป้อง จึงถูกทำลายได้ด้วยสบู่ […]
ปัญหาเรื่องวัคซีนโควิด เป็นเรื่องที่ได้ยินติดต่อกัน ทำให้ประชาชนหลายประเทศไม่กล้าฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นผลจากรัฐบาล เช่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ ฮ่องกง ฯ สำหรับออสเตรเลียจะเริ่มฉีดวัคซีนในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นของAstrazeneca ส่วนสำหรับสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร มีการฉีดวัคซีนไปแล้วเกือบ 14 ล้านโดส แต่ก็ ยืนยันแล้วว่าวัคซีนอาจจะไม่สามารถปกป้องการติดเชื้อ 100 % และยังไม่มีข้อมูลในผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือกำลังรับการรักษาเรื้อรังที่ยับยั้งหรือป้องกันการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน จึงควรที่จะป้องกันตนเองได้ด้วยการปิดหน้ากาก และมีระยะห่างระหว่างกันในสังคม การล้างมือบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชน สำหรับข่าวการเสียชีวิตของพยาบาลโปรตุเกส ที่มีข่าวเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนของ Pfizer นั้น เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 มีการรายงานของกระทรวงยุติธรรมโปรตุเกส ผลการชันสูตรศพไม่พบสาเหตุการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนที่เธอรับ แต่ไม่ได้แถลงสาเหตุการเสียชีวิตที่ชัดเจน แจ้งเพียงว่าเป็นความลับของกระบวนการ และการเสียชีวิตของสูติแพทย์ Gregory Michael วัย 56 ปี ที่ทำงานที่ Miami พบว่าเสียชีวิตจากอาการเลือดออกในสมอง หลังรับวัคซีนของ Pfizer 16 วัน และทำให้เสียชีวิตจากอาการของเกล็ดเลือดลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว (Acute Immune […]
ในเดือนธันวาคม 2564 คนไทยวิตกกังวลกับการระบาดของโควิดระลอกใหม่ ซึ่งมาจากการข้ามพรมแดนจากประเทศเมียนมาร์ ตั้งแต่ 28พฤศจิกายน 2563 และเบาบางลงใน 6 ธันวาคม 2563 จนมาถึงการระบาดที่รุนแรงกว่า 500 คนที่ตลาดค้ากุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นกลุ่มแรงงานจากต่างชาติ ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2563 และเริ่มรุนแรงขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 จากเหตุการณ์นี้ได้มีการแพร่กระจายออกมาสู่หลายจังหวัด จนกลายมาเป็นเรื่องการระบาดของคนไทยที่มาจากการมั่วสุมในบ่อนการพนันทางจังหวัดตะวันออก เริ่มจากระยอง เมื่อวันที่ 26ธันวาคม 2563 จันทบุรี และชลบุรี ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก กระจายไปทั่วประเทศกว่า 50 จังหวัด นอกจากเรื่องการระบาดในประเทศแล้วนั้น ยังมีเรื่องของการกลายพันธุ์ของเชื้อ โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรที่มีการแพร่กระจายรวดเร็วกว่าเดิม 70 % ทำให้มีการยกเลิกการบินไปสหราชอาณาจักร และไม่ยอมรับผู้ที่เดินทางมาจากสหราชอาณาจักรในหลายประเทศในยุโรป แต่กลุ่มนี้ยังไม่น่ากังวลมากนัก เพราะไม่มีรายงานการดื้อยา แต่มีการกลายพันธุ์จากอีกที่หนึ่ง คือแอฟริกาใต้ ซึ่งเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 นี้ Scott Gottlieab อดีตผู้อำนวยการสำนักอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา […]
การตรวจหาเชื้อ COVID-19 เป็นเรื่องที่หลายประเทศดำเนินการได้ค่อนข้างดี แต่การตรวจหาสายพันธุ์ หรือการกลายพันธุ์ของเชื้อจากการรายงานของ GISAID พบว่า ประเทศที่รายงานการตรวจหาสายพันธุ์ที่ดีที่สุด คือ ออสเตรเลีย ซึ่งตรวจได้มากกว่า 58% รวมถึงนิวซีแลนด์ที่ตรวจได้ถึงกว่า 48 % ตามมาด้วยไต้หวัน เดนมาร์ก ไอซ์แลนด์ แกมเบีย เวียดนาม สหราชอาณาจักร ประเทศไทย และญี่ปุ่น แต่ประเทศสหรัฐอเมริกากลายเป็นอันดับที่ 43 โดยมีการตรวจหาการกลายพันธุ์เพียง 0.3% การตรวจหาการกลายพันธุ์ ทำให้ทราบว่าเชื้อที่วิตกกังวลกันหนักช่วงปลายปี 2563 ที่ผ่านมา คือ N501Y ของอังกฤษ อยู่ใน clade GR ซึ่งมีการกลายพันธุ์ที่ส่วนยื่นของโปรตีนหลายแห่ง (deletion 69-70, deletion 145, N501Y, A570D, D614G, P681H, T716I, S982 A, D1118H) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการใช้เกาะกับเซลล์ร่างกาย และการกลายพันธุ์ที่พบในอัฟริกาใต้ ที่รายงานเมื่อ 21 ธันวาคม […]
ในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา มีรายงานการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยในซีกโลกทางด้านเหนือ โดยในวันที่ 17 พฤศจิกายน สหรัฐฯ มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นถึง 162,149 คน อินเดียที่มีอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้น 28,555 คน อิตาลีมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นใหม่ 27,354 คน รัสเซียมีการติดเชื้อใหม่ 22,778 คน สหราชอาณาจักรมีการติดเชื้อเพิ่ม 21,363 คน บราซิลมีการติดเชื้อใหม่ 13,647 คน โดยมียอดการติดเชื้อสะสมทั่วโลกแล้วกว่า 55 ล้านคน รักษาหายแล้ว 38 ล้านคน และมียอดผู้เสียชีวิตกว่า 1.33 ล้านคน โดยมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 2.4% หลังจากที่ “ไฟเซอร์” ออกมาประกาศเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไม่นาน วันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 บริษัท โมเดิร์นนา ก็ได้ออกมารายงานผลการทดลองวัคซีน ว่าสามารถป้องกันโควิด-19 ได้ถึง 94.5% ซึ่งมากกว่าของไฟเซอร์ ที่ได้ผลเพียง 90% ซึ่งต้องเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิที่เย็นเป็นพิเศษ -70 องศาเซลเซียส […]
การค้นพบหลายสิ่งในเดือนพฤศจิกายน เป็นผลจากการทำงานหนักอย่างต่อเนื่องของหลายองค์กรในต่างประเทศ ตั้งแต่วิกฤตการณ์ COVID-19 ได้เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดการตรวจหาเชื้อด้วยชุดคิทสำเร็จรูปที่ผลิตจากประเทศสิงคโปร์ และวัคซีนที่ผ่านการทดลองในคนหมู่มากแล้วจากบริษัท ไฟเซอร์ 6 พฤศจิกายน รายงานจากเว็บไซต์ขององค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐฯ (FDA) ได้อนุญาตชุดตรวจชื่อ cPass ที่ผลิตโดยศาสตราจารย์ หวัง ลินฟา กรรมการของ ดุค มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และบริษัทไบโอเทคโนโลยี ชื่อ เจนสคริปต์ ไบโอเทค คอร์ปเปอร์เรชั่น และ เอเยนต์ ฟอร์ไซน์ เทคโนโลยี แอนด์ รีเสริช ไดแอกโนซิส เดเวลอปเมนท์ ฮับ โดยชุดตรวจนี้ไม่ได้ต้องการเครื่องมือพิเศษ หรือการฝึกพิเศษในการตรวจหาผู้ติดเชื้อ ซึ่งเป็นการใช้เทคนิคที่เรียกว่า การทำให้ผู้คุ้มกันเป็นสภาวะปกติ (Neutralizing Antibodies) ซึ่งเป็นการป้องกันเชื้อจากเซลล์ของคนไข้ที่ติดเชื้อ และดร.หวัง ยังคาดว่าจะพบวัคซีนที่สามารถกระจายสู่คนหมู่มากในการใช้งานได้ภายใน 3-6 เดือนข้างหน้า และการตรวจด้วยชุดคิท cPass จะช่วยในการวินิจฉัยต่อไป ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสิงคโปร์ และชาติต่าง ๆ ทั่วโลก 9 พฤศจิกายน ข้อมูลจากรอยเตอร์ส […]
การรักษา COVID มีการใช้ยา Favipiravir ซึ่งเคยเป็นยารักษาไข้หวัดใหญ่ ไข้เหลือง และโรคปากเท้าเปื่อย ได้รับความสนใจอย่างมากในการนำมารักษา COVID ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพราะมีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ RNA Polymerase ที่ช่วยลดการเพิ่มจำนวนไวรัส และเป็นยาที่รับประทานได้ค่อนข้างปลอดภัยเมื่อทานในปริมาณค่อนข้างสูง ในอินเดีย อยู่ในระหว่างทดลอง และได้รับการอนุมัติจาก DCGI ให้วางจำหน่ายในนาม Ciplenza ในราคาประมาณ 31.63 บาทต่อเม็ด สำหรับในประเทศไทยมีการใช้อยู่ โดยองค์การเภสัชกรรมเตรียมพัฒนาสูตรตำรับ และขยายขนาดการผลิต คาดว่าใช้เวลา 1 ปี พร้อมยื่นขึ้นทะเบียน แต่ FDA สหรัฐยังไม่ยอมรับ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมามีข่าวช็อก ที่สะเทือนอเมริกาและโลก คือการพบเชื้อโคโรน่าไวรัสในประธานาธิบดี และสตรีหมายเลข 1 รวมถึงทีมที่ปรึกษาของทรัมป์อีกหลายคน ทรัมป์ถูกนำตัวไปรักษาที่ Water Reed โดยยาที่เขาได้รับ คือ Remdesivir เป็นยาต้านไวรัสฉีดเข้าเส้นเลือด ของบริษัท กิเลียด ไซเอินเซส โดยมีการกำหนดว่าจะให้ 5 วัน […]
จากการที่มีการระบาดรอบสอง รวมถึงการติดเชื้ออย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล อินเดีย ซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มเข้าถึง 33 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตกว่า 1 ล้านคน โดยมีผู้ที่หายแล้วประมาณ 25 ล้านคน จึงขอนำข้อมูลที่ติดตามจากหลายส่วนมานำเสนอโดยรวม ทั้งสถานการณ์ปัจจุบันมีอะไรที่น่าเป็นห่วง การค้นหาวัคซีน การตรวจสอบหาเชื้อ จากสถานการณ์ปัจจุบันพบว่าอัตราการติดเชื้อในหลายประเทศน่าจะสูงมากแล้ว โดยคาดว่าในอินเดียจะมีคนติดเชื้อมากกว่า 60 ล้านคน ทั้งนี้เพราะว่าการตรวจหา Antibody ในคนทั่วไปพบถึง 1 ใน 15 คน ทั้งที่รายงานการติดเชื้อเพียง 6 ล้านคน ประมาณการณ์ว่าเพิ่มจากที่รายงาน 10 เท่าตัว เพราะคนเหล่านี้มีการติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ หรืออาการไม่รุนแรง ซึ่งตัวเลขนี้น่าจะพอเทียบเคียงกับบราซิล โดยอาจรวมกับประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งทำให้มีโอกาสเข้าใกล้ถึงภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) ที่โอกาสติดเชื้อของคนทั่วไปจะต่ำลง เพราะคนจำนวนมากมีการติดเชื้อแล้ว รายงานเมืองแรกที่น่าจะเข้าถึง Herd Immunity คือ เมืองมาเนาส์ (Manaus) รัฐอะมาโซนาส ประเทศบราซิล จากการที่ยอดเสียชีวิตลดลงอย่างมากเมื่อกลางเดือนกันยายน ที่เสียชีวิตเพียง […]
การพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการเดินทางบนเครื่องบินอย่างปลอดภัย ซึ่งหลังเหตุการณ์ 911 ก็มีการพัฒนาระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันการก่อวินาศกรรม การควบคุมวัสดุอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จะนำขึ้นเครื่องบิน การกันน้ำ และน้ำยาต่าง ๆ แต่ในระหว่างที่มีการระบาดของ COVID -19 อีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนเป็นห่วง เช่นเดียวกับการเดินทางบนรถโดยสารสาธารณะ นอกเหนือจากการเร่งพัฒนาวัคซีน ก็จะเป็นเรื่องของการใช้ยาฆ่าเชื้อที่มีผลในการทำลายเชื้อที่มีอยู่ในอากาศระหว่างที่เดินทางทางอากาศอยู่ ในสหรัฐอเมริกามีการใช้สินค้าที่เรียกว่า SurvaceWise2 จากบริษัท Dallas Based Allied Bioscience ซึ่งเป็นการพ่นสเปรย์ที่ช่วยให้ไวรัส COVID-19 ไม่แข็งแรงหรือไม่ทำงานอย่างน้อย 7 วัน สารนี้มีการใช้ใน American Airlines และสายการบินอื่นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมีนาคมเฉพาะที่รัฐเท็กซัส โดยทางบริษัทการบินจะมีระบบการทำความสะอาด ทั้งเมื่อขณะที่กำลังบินอยู่และระหว่างที่เครื่องบินจอดข้ามคืน รวมถึงการใช้ยาฆ่าเชื้อโรคแบบสเปรย์เพียงอาทิตย์ละคร้ัง แต่อย่างไรก็ตามการใช้สเปรย์ไม่ได้ทดแทนการทำความสะอาดตามปกติ นอกจากนี้ยังมีการพยายามใช้สารที่เป็น electrostatically ในการพ่นบนเครื่องทั่วทั้งลำ เพื่อช่วยในการฆ่าเชื้อในโรงพยาบาล โรงเรียนและเครื่องบิน และจะมีการใช้ในรัฐอื่นในไม่ช้า โดยมีการประมาณว่าผู้โดยสารจะต้องใส่หน้ากาก และจะต้องมีการกรองอากาศ หรือใส่อากาศใหม่เข้าสู่ระบบภายในห้องผู้โดยสารทุก 2 – 3 นาที และยังจะต้องมีระยะห่างระหว่างกัน นอกจากนี้ทางสนามบินจะมีระบบตรวจสอบ และขนกระเป๋าด้วยตนเอง รวมถึงเรื่องการใช้ห้องน้ำแบบระบบที่ไม่มีการสัมผัส โดยเริ่มใช้เมื่อสิ้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเป็นผลงานของ Infax […]
- 1
- 2