สิ่งที่ช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้น

กลุ่มคนที่มีปัญหากับการนอนมักจะพยายามหาแนวทางในการช่วยเหลือให้ตนเองนอนหลับได้ง่าย รวมถึงการนอนหลับได้ดีขึ้น และรู้สึกสดชื่นเมื่อตื่นนอน หลาย ๆ คนพยายามพึ่งพาอาหาร วิตามิน อาหารเสริมต่่ง ๆ ที่ช่วยให้การหลับดีขึ้น เช่น

  • เมลาโตนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพื่อช่วยให้หลับจากอาการ jet lag ด้วยการช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด
  • วิตามิน D มีความสำคัญอย่างยิ่งกับการนอนหลับ การที่ได้รับวิตามิน D ไม่เพียงพอย่อมส่งผลทำให้เกิดอาการนอนหลับยากได้ วิตามินนี้จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารที่จำเป็น
  • วิตามิน B6 ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยการสร้าง Serotonin และ Melatonin
  • Tryptophan เป็นอาหารเสริม ที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างฮอร์โมนเมลาโตนิน

อาหารต่าง ๆ ที่ช่วยโดยมากมักเกี่ยวข้องกับ Tryptophan ได้แก่ พืชตระกูลถ่ัว โดยเฉพาะวอลนัท อัลมอนด์ ซึ่งมีมีแมกนีเซียมด้วย ปลาทูน่าเป็นแหล่งวิตามิน B6ที่ช่วยในการสร้าง Serotonin และ Melatonin

การทานอาหารเค็มจัด โดยเฉพาะการบริโภคเกลือมีผลต่อการนอนหลับ สมาคมแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะแห่งยุโรปที่ London โดยนายแพทย์มัตสึโอะ โมโมฮิโระ พบว่าการลดการบริโภคเกลือ ลดการตื่นเข้าห้องน้ำกลางคืนลงจาก 2 ครั้งเหลือเพียงครั้งเดียว และระหว่างวันปัสสาวะลดน้อยลงอีกด้วย ในทางตรงข้ามการเพิ่มการรับประทานเกลือ จะทำให้คนเหล่านั้นเข้าห้องน้ำมากขึ้น โดยเฉพาะเวลากลางคืน ที่ปกติผูู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี จะตื่นเข้าห้องน้ำ 2 ครั้งต่อคืน จากการดื่มน้ำมากเกินไป ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง ต่อมลูกหมากโต และยังเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน หัวใจ และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การนอนหลับไม่ต่อเนื่องก่อให้เกิดความเครียด อาการหงุดหงิดระหว่างวัน จึงไม่ควรบริโภคเกลือเกิน 6 กรัมต่อวัน หรือโซเดียมไม่เกิน 2.4 กรัม โดยลดการบริโภคแฮม เบคอน ชีส รวมถึงขนมกรุบกรอบที่มีปริมาณเกลืออยู่สูงกว่าปกติ นอกจากนั้นยังมีขั้นตอนในการดำเนินการอย่างเหมาะสมที่ช่วยในการนอน

  1. การตั้งเวลาในการนอนให้คงที่สม่ำเสมอ การที่เราได้นอนหลับในเวลาเดิมทุก ๆ วันจะช่วยให้ร่างกายจดจำช่วงเวลาที่เริ่มการนอนหลับ และยังช่วยเพิ่มช่วงนอนแบบฝันของเราให้มากขึ้นด้วย
  2. ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เราต้องตื่นกลางดึก เช่น เสียงดังรบกวนในกลุ่มที่เปิดโทรทัศน์ในเวลานอนแล้วปล่อยให้รายการที่ตื่นเต้นหรือมีเสียงดังเกิน ควรปิดโทรศัพท์มือถือ แหล่งเสียงอื่น ๆ ก่อนนอน ปิดไฟให้เหมาะกับการพักผ่อน รักษาอุณหภูมิห้องให้อยู่ประมาณ 20-25 องศาเซลเซยีส
  3. การออกกาลังกาย โดยห่างจากก่อนนอน 2-3 ชั่วโมง
  4. หลีกเลี่ยงคาเฟอีน และนิโคติน
  5. การหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ แม้ว่าจะมีฤทธิช่วยกดประสาทให้หลับได้ไว แต่ทำให้เราตื่นขึ้นก่อนเวลา
  6. หลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่มมื้อใหญ่ ๆ ตอนดึก
  7. สังเกตยาประจำตัว ว่ามีผลที่ทำให้นอนไม่หลับหรือไม่
  8. หลัง 00 น ไม่ควรงีบ เพราะจะขโมยการนอนกลางคืน
  9. อย่าอัดตารางเวลาในแต่ละวัน ช่วงกลางวันแน่นเกินไป ควรมีเวลาผ่อนคลายเพื่อให้สมองได้พักบ้าง
  10. อาบน้ำอุ่นก่อนนอน แช่น้ำร้อน เป็นการหลอกร่างกายให้อุณหภูมิร่างกายสูง และอุณหภูมิค่อย ๆ ลดลงมานั้นทำให้เรารู้สึกง่วง
  11. การจัดห้องนอนให้มีความมืด และไม่มีแสงเข้ามารบกวน ให้ห้องค่อย ๆ ปรับความมืดเริ่มมาตั้งแต่เย็น เช่นเดีวกันอุณหภูมิิในห้องนอนก็จะค่อย ๆ เย็นขึ้น แสงสีฟ้าจะทำให้ Melatonin หลั่งน้อยลงทำให้กลไกกระตุ้นการนอนลดน้อยลง ก่อนนอนจึงไม่ควรใช้มือถือ หรือแท๊บแลต ซึ่งการใช้แว่นตากรองแสงสีฟ้า รวมถึงการใช้หลอดไฟแสงสีแดงที่หัวเตียงก็จะทำให้การนอนหลับดีขึ้น
  12. สัมผัสแสงแดดในเวลากลางวันอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยกระตุ้นการนอนในเวลากลางคืน แสงในเมืองจะทำให้นอนไม่หลับ
  13. หากนอนไม่หลับให้ลุกมาทำกิจกรรมอื่น ๆ เพราะเรากังวลมากขึ้นในเวลาที่เรานอนอยู่แล้วไม่หลับ เมื่อง่วงแล้วค่อยกลับมานอน

สิ่งที่ช่วยให้การนอนหลับได้ดีขึ้น

กลิ่นกับการนอนหลับ การใช้น้ำมันหอมระเหยที่เรียกว่า Aromatherapy ช่วยในการนอนหลับ โดยช่วยในการปรับสมดุลของจิตใจ ทำให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย ลดความเครียด โดยน้ำมันหอมระเหยนี้มีลักษณะเฉพาะช่วยในการนอน ได้แก่

  • ลาเวนเดอร์ (Lavender) ซึ่งมีการใช้ทางการแพทย์เพื่อบำบัดอาการนอนไม่หลับมาแต่โบราณ และจากการทดลองของ ดร.นามนิ โกเอล ยังพบว่าหลังให้อาสาสมัครสูดดมกลิ่นของลาเวอนเดอร์ก่อนนอน อาสาสมัครเหล่านี้จะมีช่วงเวลาที่หลับลึกยาวนานขึ้น โดยสามารถช่วยได้ทั้งเพศหญิงและชาย
  • คาโมมายล์ (Chamomile) เป็นพืชตระกูลดอกเดซี่ (Asteraceae) มีลักษณะเป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลืองอยู่กลางดอก ส่งกลิ่นหอมในฤดูร้อน มักนำดอกนี้มาอบแห้งใช้ทำเป็นชา โดยมีสาร Apigine มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยขับลมในกระเพาะ ช่วยให้รู้สึกสงบ คลายความกังวล และช่วยให้หลับสนิท ในผู้หญิง กลิ่นของน้ำมันดอกคาโมมายล์ มีผลช่วยทำให้รู้สึกสบายอยู่ในภาวะสงบ และมีผลในการรักษาภาวะวิตกกังวล หากทานติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์
  • ดอกมะลิ มีสมบัติในการทำให้จิตใจ สงบเย็น ในสมัยโบราณนำกลิ่นมะลิมาใช้บำบัดอาการซึมเศร้า ความเครียด วิตกกังวล นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Willing Jesuid พบว่ากลิ่นหอมอ่อน ๆ ของดอกมะลิ เป็นมิตรกับการนอน และทำให้อาสาสมัครนอนหลับสนิทมากขึ้น และตื่นขึ้นมาสดชื่น กระปรี้กระเปร่าตลอดทั้งวัน
  • กุหลาบ การสูดดมกลิ่นหอมในขณะนอนหลับสามารถเสริมในเรื่องของความจำได้ โดยให้อาสาสมัครสูดกลิ่นกุหลาบในเวลาเย็น พร้อมให้ดูการ์ดภาพสถานที่ต่าง ๆ ที่วางไว้ในกรอบสี่เหลี่ยม หลังจากนั้นตอนกลางคืนให้อาสาสมัครครึ่งหนึ่งสูดกลิ่นกุหลาบขณะนอนหลับ อีกครึ่งไม่ได้ใช้กุหลาบ รุ่งขึ้นอาสาสมัครกลุ่มที่ได้กลิ่นกุหลาบจะจำภาพสถานที่ได้ถึง 97 % ในขณะที่อีกกลุ่มที่ไม่ได้ใช้กลิ่นช่วยจำได้แค่ 86 %
  • กลิ่นเฉพาะตัวของคนรัก จะช่วยให้การนอนหลับของอีกฝ่ายง่ายขึ้น และมีคุณภาพการนอนดีขึ้น โดยงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย British Columbia ในแคนาดา ศึกษาจากอาสาสมัคร 155 คน แต่ละคนได้เสื้อยืดไปใช้เป็นปลอกหมอน ซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้เป็นเสื้อยืดที่คนรักของอาสาสมัครสวมใส่ 24ชั่วโมง โดยไม่ใช้น้ำหอม หรือกินอาหารที่มีกลิ่นแรง รวมทั้งห้ามใช้สารระงับกลิ่นกายใด ๆ อีกตัวเป็นเสื้อยืดที่คนอื่นเคยสวมใส่ หรือเสื้อยืดที่สะอาดเอี่ยม พบว่ากลิ่นทางอ้อมจากสิ่งของต่าง ๆ ผลที่ได้รับคือ การสูดกลิ่นกายของคนรักที่ติดเสื้อผ้า มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการได้รับ Melatonin ซึ่งช่วยในการนอน กลิ่นของคนรักที่ผูกพันกันมานาน อาจกระตุ้นให้อีกฝ่ายเกิดความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัยและผ่อนคลาย คล้ายคนรักมาอยู่ใกล้ชิดกันจริง ๆ นำไปสู่การนอนหลับสนิทง่ายขึ้น

ดนตรีกับการนอนหลับ ดนตรีมีส่วนช่วยลดการปวด ซึ่งถูกนำมาใช้ในกิจกรรมการพยาบาล นอกจากนี้ยังมีส่วนทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ลดความวิตกกังวลหรือความเครียด ช่วยเพิ่มวงจรการนอนหลับระยะที่ไม่ฝัน และระยะที่หลับลึกแบบฝัน ที่สำคัญคือช่วยลดระยะเข้าสู่การนอนหลับ นั้นคือการนอนหลับง่ายขึ้น หลับลึกได้ยาวนานขึ้น ส่งผลให้การนอนมีคุณภาพ ช่วยเพิ่มความจำ การเรียนรู้ และอารมณ์แจ่มใสขึ้น เพลงที่เลือกฟังขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ฟัง โดยเน้นเป็นดนตรีที่ช่วยการผ่อนคลาย ซึ่งมีจังหวะประมาณ 60-80 บีทต่อนาที ช้า นุ่มนวล ดนตรีประกอบเสียงธรรมชาติ หรือเป็นเสียงสวดมนต์ทิเบต เพลงสวดมนต์ เพลงคลาสสิก

การรับฟังเสียงเพลงผ่านไปที่ส่วนสมองที่เรียกว่า Cerebral Cortex ส่งต่อไปยังส่วนที่เรียกว่า Limbic System ซึ่งเป็นระบบที่เกี่ยวกับความรู้สึก อารมณ์ และพฤติกรรม ทำให้เกิดความรู้สึกพึงพอใจ ดนตรีที่มีเสียงนุ่มนวลจะสามารถปรับเปลี่ยนสารเคมีในระบบประสาท กระตุ้นสมองส่วน Hypothalamus โดยส่งสัญญาณไปยังต่อม Pituitary ให้หลั่งสาร Endorphine ทำให้ รู้สึกผ่อนคลาย และหลั่งสาร Serotonin ทำให้ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อเข้าสู่การนอนหลับได้ง่าย และยังช่วยให้การนอนมีคุณภาพดีขึ้น

ข้อมูลจาก : นพ.ธิติวัฒน์ ประชาธำรงพิวัฒน์

(https://minsenconcept.com/สิ่งที่ช่วยให้การนอนหล/)

Cover designed by Freepik